ทำไมห้ามนักฟุตบอลอายุเกิน 23 ปี ในโอลิมเกมส์ EP:2

ข่าวกีฬา ข่าวฟุตบอล

กลุ่มนั้นก็คือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า จริงๆเหตุผลไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลยครับ ก็คือฟุตบอลเป็นกีฬามหานิยมอยู่ล่ะครับ ได้รับความนิยมสูงสุดกลายเป็นกีฬาอันดับ 1 ของโลก แฟนบอลนี่มีทั่วทุกมุมโลกเลยครับ ยุคนั้นเนี่ยการถ่ายทอดสด หรือการเติบโตทางเทคโนโลยี มันยังไม่ได้แบบรวดเร็วทันใจแบบยุคนี้ครับ แต่ทุกคนก็ยังติดตามข่าวสาร จากสื่อสิ่งพิมพ์ จากพื้นที่ต่างๆ ทุกคนเฝ้ารอ และยิ่งเฝ้ารอยิ่งหายาก มันก็ยิ่งมูลค่ามาก ยิ่งเป็นสิ่งที่มีความหมายมากขึ้น 

เหตุผลเลยครับว่า FIFA บอกว่าถ้าปล่อยให้นักกีฬาอาชีพมาเล่นเกมแบบเต็มสูบเลยครับ  ฟุตบอลโลกครับ 4ปีครั้ง จัดทีไรกระแสฟีเวอร์ปกคลุมทั่วโลกครับ รายได้มหาศาลมากมาย แล้วก็ลองคิดดูนะว่าถ้าปล่อยให้บรรดานักเตะอาชีพมาเล่นโอลิมปิกได้ ความนิยมหรือการรอคอยที่มีความหมาย มันอาจจะจืดชืดลงไป แล้วนั่นหมายความว่ารายได้ไม่มี เงินมันก็จะถูกแยกออกไปที่โอลิมปิกได้ครับ  มันเลยต้องหาทางออกครับ คราวนี้ก็เลยต้องมาคุยกัน ฟีฟ่า แล้วก็ ioc ทำยังไงครับ ว่าจะให้ทั้งสองฝ่ายนั้นเดินขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ โดยที่ไม่เสียผลประโยชน์ทั้งคู่ 

สรุปก็คือเกิดขึ้นในปี 1984 นั่นแหละครับ คือให้นักเตะอาชีพเล่นได้ครับ แต่ชาติในทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ซึ่งถือว่าเป็น 2 ทวีปมหาอำนาจในฟุตบอลโลกครับ ห้ามใช้นักเตะที่เคยไปเล่นบอลโลกมาแล้วมาเล่น เหตุผลจริงๆกำหนดแบบนั้นเลยครับ ชัดเจนของทวีปยุโรปและอเมริกาใต้ คนใดเล่นบอลโลกมาแล้วห้ามเลยครับ เพราะถือว่าขึ้นหิ้งไปแล้ว ไปอยู่ในเกรดระดับโลกแล้ว ไม่ให้มาเล่นในโอลิมปิก 

กฎนี่แหละถูกใช้อยู่ 2 ครั้งครับ ก็คือปี 1980 กับที่ Los Angeles แล้วก็ปี 1988 ที่กรุงโซลเกาหลีใต้ครับ พอมาถึงปี 1992 ครับ มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งครับ คราวนี้คือใช้กำหนดอายุมาเป็นตัวบังคับครับ และช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดในการแข่งขันโอลิมปิกก็คืออายุไม่เกิน 23  ปีทำไมต้องเป็น 23 ปี นี้อาจจะไม่มีแบบเป็นเหตุผลแบบชัดเจน ในการได้จากการวิเคราะห์ออกมา ในการพิจารณาดูครับว่าช่วงอายุนี้ครับ มันจะสัมพันธ์กับช่วงอาชีพของการเป็นนักฟุตบอล ซึ่งส่วนใหญ่เนี่ยแล้วก็จะถูกมองว่า มันก็จะถึงจุดพีคสุดก็หลัง 25 นะครับ บางคนอาจจะบอกว่า 28 ปีอะไรประมาณนั้น 

ซึ่งถ้ามองตัวเลขของการกำหนดจากคน ในโอลิมปิกเกม คือ 23 ปี นี้ก็สมเหตุสมผลครับ เพราะมันมีน้อยมากๆครับ ที่นักเตะจะพีคตั้งแต่อายุก่อน 23 ปี ถ้าตัวอย่างก็คือเอาแบบรางวัลบัลลงดอร์เป็นที่ตั้งนะมีแค่ 2 ครั้งครับ ที่ได้บัลลงดอร์ตอนอายุต่ำกว่า 23 ครั้งแรกคือ ไมเคิล โอเว่น ครั้งที่ 2 คือ ลีโอเนล เมสซี่ ปี 2009 นั้น พูดง่ายๆ คืออายุไม่เกิน 23 ปีนี้ มันเหมือนเป็นการคัดกรองไว้ส่วนหนึ่งครับ ว่านักเตะที่มาแข่งขันใน โอลิมปิกเกม มันอาจจะไม่ใช้เป็นพวกเกรดเอ หรือเป็นพวกที่แบบอยู่ในช่วงพีคที่สุดครับ

แต่ความน่าสนใจก็คือ มันจะเป็นช่วงอายุที่กำลังเติบโตขึ้นมาครับ และผู้ชมก็จะได้เห็นนักกีฬาที่มันมีแวว ที่มีโอกาสที่เป็นดาวรุ่ง อาจจะยังไม่ถึงขั้นเกรดเอ แต่มันกำลังเติบโตขึ้นไปจะไปถึงจุดนั้น กับสิ่ง ที่ผ่านมา ก็เห็นชัดๆครับว่าหลายๆคนครับ ใช้เวที โอลิมปิกเกม เป็นจุดแจ้งเกิดแล้วก็เติบโตขึ้นไป เมสซี่ นี่ก็ 1 คนครับ เคยได้เหรียญทองในปักกิ่งเกมส์ในปี 2008 

ส่วนกำไรของคนดูก็คือการได้เห็นนักเตะเหล่าฉายแววเติบโต ได้เห็นนักเตะที่กำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงขึ้นมา มันก็เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ครับ แล้วก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น บรรดาทีมชาตินั้นก็เริ่มจากส่งตัวที่มีอายุ 23 ปี ลงมาบู๊กันแบบเต็มสูบไม่มีกั๊ก มันก็เลยกลายเป็นการแข่งขันในระดับเกรดรอง แต่ก็ไม่ได้สูญเสียความน่าสนใจไปเสียทีเดียว ในขณะเดียวกัน เรายังได้เห็นเด็กคนนั้นเด็กคนนี้ เติบโตขึ้นมาเป็นดาวรุ่งแจ้งเกิดขึ้นมา 

นอกจากนี้นะครับ ก็จะมีการปรับกฎให้มันสนุกมากขึ้นอีกครับตั้งแต่ปี 1996 ครับ มีการเพิ่มเข้ามาครับก็คือ ให้แต่ละชาติสามารถใส่ชื่อนักเตะอายุเกิน 23 ปี มาได้ 3 คนครับ เลือกได้อิสระเลยครับ จะเอาใครมาก็ได้หมดเลย ซึ่งในโควตานักเตะอายุเกินนี่แหละครับ มันก็ทำให้เกมน่าดูมากขึ้น เพราะมีนักเตะระดับซุปเปอร์สตาร์ ที่ยังต้องการแบบคว้าเหรียญทองเพื่อเป็นเกียรติให้กับตัวเอง มาร่วมแข่งขันด้วยครับเช่นในกรณีเมื่อปี 2016 ครับ ที่ทีมชาติบราซิลมี เนย์มาร์ ด้วย แล้วนี่มาก็มาแบบไม่เสียเวลาดูกันจริงๆ เนมาร์ เป็นแกนหลักสำคัญ ที่พาบราซิลไปถึงรอบชิงชนะเลิศเจอกับเยอรมนี และสุดท้ายถ้าสามารถคว้าเหรียญทองได้สำเร็จ